ผลคณิตศาสตร์เพชรยอดมงกุฎครั้งที่ 14



ประกาศคะแนนผลการแข่งขันคณิตศาสตร์เพชรยอดมงกุฎครั้งที่ 14 ปีการศึกษา2554 ออกมาแล้ว ปีนี้ผู้ที่เข้ารอบสุดท้ายเพชรยอดมงกุฎ เป็นเด็กผู้ชายล้วน



Iผลการแข่งขันคณิตศาสตร์เพชรยอดมงกุฎครั้งที่ 14 ปีการศึกษา2554 MG_6708#1





indexphp-4[1]indexphp-4[1]indexphp-4[1]





ผลการแข่งขันคณิตศาสตร์ เพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 14 ปีการศึกษา2554 (ช่วงชั้นที่ 1)เมื่อวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา



IMG_6706#1





เหรียญทอง



เป็นของ ด.ช.รัชชานนท์ เพชรชู



จาก โรงเรียนอัสสัมชันแผนกประถม





เหรียญเงิน



เป็นของ ด.ช. ปพณ ละเภท



จาก โรงเรียน ดรุณากาญจนบุรี





เหรียญทองแดง



เป็นของ ด.ช. พิชญุตม์ แสงรุ่งคงคา



จาก โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย



indexphp-21[1] indexphp-21[1] indexphp-21[1]



ผลสอบคณิตศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่14 ทั้ง 4 ช่วงชั้นเป็นดังนี้ Load ดูได้เลยคะ



# ช่วงชั้นที่ 1 #



# ช่วงชั้นที่ 2 #



# ช่วงชั้นที่ 3 #



# ช่วงชั้นที่ 4 #





ขอแสดงความยินดีกับเพื่อนๆคนเก่งด้วยนะคะ



DSCF1397#ผลการแข่งขันคณิตศาสตร์เพชรยอดมงกุฎครั้งที่ 14 ปีการ1



คุณครูกัญญาพัณณ์ ร้อยแก้ว ครูผู้ส่งเสริม



จาก โรงเรียนอนุบาลสระบุรี



IMG_6702#1ผลการแข่งขันคณิตศาสตร์เพชรยอดมงกุฎครั้งที่ 14



สำหรับทีมจากสระบุรีมีเพื่อนหนู คนด้านซ้ายมือ ดช. นรบดี ได้เข้าถึงรอบ 10 ด้วย ยอดเยี่ยมมาก





IโซเฟียรับรางวัลMG_6710#1



ส่วนหนู น้องโซเฟีย ก็ได้เกียรติบัตรผ่านเกณฑ์



พร้อมเงิน 500 บาท



DSผลการแข่งขันคณิตศาสตร์เพชรยอดมงกุฎครั้งที่ 14 ปีการศึกษา2554 CF1400#1



กับคุณครูเล็ก





Dคณิศาสตร์เพชรยอดมDคณิศาสตร์เพชรยอดมงกุฎตSงกุฎตSCF1403#1



กองเชียร์จากบ้านคะ



IMDคณิศาสตร์เพชรยอดมงกุฎตSGวัดสุทธิวราราม_6704#1



ดีใจจัง มีเพื่อนๆมาจากเกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศเลย





10line23ys8[1]



IIMDคณิศาสตร์เพชรยอดมงกุฎตSGวัดสุทธิวราราม_6704MG_6721#1



10line04xa9[1]



DIMDคณิศาสตร์เพชรยอดมงกุฎตSGวัดสุทธิวราราม_6704SsophiaCF1403#1





1229746479[1]



sophia เพชรยอดมงกุฎDIMDคณิศาสตร์เพชรยอดมงกุฎตSGวัดสุทธิวราราม_6704SCF1395#1





































Bye….bye



wtp045[1]

เที่ยวเข่ื่อนป่าสักชลสิทธิ์

         ลุ่มน้ำป่าสักได้มี ต้นกำเนิดทางหุบเขาแถบจังหวัดเลย ไหลเรื่อยผ่านป่าใหญ่และ ทุ่งกว้างลักษณะแคบเรียวยาว สู่เพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี และ มาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อยุธยานับความยาว ได้ประมาณ 513 กิโลเมตรปริมาณน้ำที่เอ่อล้นในบางฤดูของปีหรือบางครั้งลดแห้งจนมองเห็นเนินทราย นับเฉลี่ยได้ประมาณ 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีบนพื้นที่ลุ่มน้ำกว่า 14,520 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 13ในจำนวน 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์กับSophia

        ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการช่วยเหลือราษฎรที่อยู่ในแถบลุ่มน้ำป่าสักที่ต้องเผชิญกับปัญหาความแห้งแล้ง ขาดน้ำเพื่อการเกษตรในบางปี และในบางปีต้องประสบกับอุทกภัย ยังความเดือดร้อนสู่ราษฎรนับ จากลุ่มน้ำป่าสักไปจนถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยา หรือแม้แต่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก  เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วมได้เริ่มฉายชัดขึ้นที่ละน้อย

ไปเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระราชดำริเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2532 ให้กรมชลประทานดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของโครงการเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสักอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ

เที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

      โดยเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2537 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบ ให้กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ดำเนินงานโครงการ ก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสัก ซึ่งทางกรมชลประทานได้เริ่ม ทำการก่อสร้างเขื่อนตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2537 เป็นต้นมา

ชมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

        เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2541 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานประกอบพิธีปิดประตูเขื่อนเพื่อเริ่มเก็บกักน้ำ  นับจากนั้นเป็นต้นมาปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเต็มเขื่อนแลดู  สวยงาม เมื่อยามผืนน้ำต้องแสงอาทิตย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาฯพระราชทานชื่อเขื่อนว่า “เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์”

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ DAM

      เนื่องในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวา คม 2542 การเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อย่างเป็นทางการ ได้กำหนดให้เป็นพระ ราชพิธีหนึ่ง เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรง เจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษาโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จ พระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนารถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ  ไปทรงเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิในวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2542

       เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สระบุรี

 

โซเฟียไปเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

        วันหยุดนี้ โซเฟียเลยชวนเพื่อนๆ ไปเที่ยวเขื่อนป่าสักกัน  เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนดิน แกนดินเหนียว ที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย คือ 4,860 เมตร เดินทางจากตัวเมืองลพบุรีมาตามเส้นทางหมายเลข 3017 (พัฒนานิคม-วังม่วง) ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร ถึง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์กับโซเฟีย

หน้าเหมือนกันเลย..

 

โซเฟียชมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ของฝากมากมาย… เลือกเอาเองนะ

น้องโซเฟียชมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

บนหอชมวิว

 

 

น้องโซเฟียชมเขื่อน

ฉากหลังคือผืนน้ำเหนือเขื่อน

 

น้องโซเฟียชมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ลพบุรี

มุมนี้ก็สวย

 

รถรางริมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

มาเขื่อนทั้งที  ขอนั่งรถรางชมเขื่อนสักหน่อย

ตั๋วรถรางริมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ซื้อตั๋วรถรางก่อนนะ ผู้ใหญ่ 20, เด็ก 10 บาท คะ

โซเฟียเที่ยว

สวนริมเขื่อน  ใกล้ที่เลี้ยงอาหาปลาคะ

 

หนุมาน อมเขื่อน

หนุมาน อมเขื่อนไปแล้วคะ

IMG_6700#1

หลวงปู่ใหญ่ป่าสักต้องนั่งรถรางไปท้างเขื่อนนะคะ

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ  ชมฟรี หนูชอบคะ

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำป่าสัก

สวยๆทั้งนั้นเลยคะ

สถานแสดงพันธุ์สัตว์เข่ือนน้ำป่าสัก

จะต้มยำ หรือลวกจิ้มดี  ล้อเล่นนะ

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำป่าสักสระบุรี

สวยคะ

sophia ชมเขื่อน

กลับก่อน นะคะ

 

sophia ชมเขื่อนป่าสัก

บ๊าย…บาย ลองหาโอกาสไปเที่ยวดูนะคะ  ถ้าไปช่วงปลายปี ตลอดเส้นทางก็จะได้ชมทุ่งทานตะวันด้วยนะ

 

sophia ชมเขื่อนป่าสักจ้า

นักคณิตศาสตร์คนเก่ง “ยูคลิด”(Euclid)

ยูคลิด (Euclid)

ยูคลิด

line06_373[1]

     ยูคลิดเป็นนักคณิตศาสตร์ที่สำคัญ และเป็นที่รู้จักกันดี ยูคลิดเกิดที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอิยิปต์ เมื่อราว 365 ปี ก่อนคริสตกาล เมื่อมีชีวิตอยู่จนกระ ทั่งประมาณปี 300 ก่อนคริสตกาล สิ่งที่มีชื่อเสียงคือผลงานเรื่อง The Elements หลักฐานและเรื่องราวเกี่ยวกับตัวยูคลิดยังคงสับสนเพราะมีผู้เขียนไว้หลาย รูปแบบ อย่างไรก็ตามผลงานเรื่อง The Elements ยังคงหลงเหลืออยู่จนถึงทุกวันนี้

fv111[1]

    จากหลักฐานที่สับสนทำให้สันนิษฐานที่เกี่ยวกับยูคลิดมีหลายแนวทาง เช่น ยูคลิดเป็นบุคคลที่เขียนเรื่อง The Element หรือยูคลิดเป็นหัวหน้าทีมนักคณิตศาสตร์ที่อาศัยอยู่ที่อเล็กซานเดรีย และได้ช่วยกันเขียนเรื่อง The Elements อย่างไรก็ดีส่วนใหญ่ก็มั่นใจว่ายูคลิดมีตัวตนจริง และเป็นปราชญ์อัจฉริยะทางด้านคณิตศาสตร์ที่มีชีวิตในยุคกว่า 2,000 ปี

 

ยูคลิดเป็นนักคณิตศาสตร์ที่สำคัญ

cv6[1]


           ผลงาน The Elements แบ่งออกเป็นหนังสือได้ 13 เล่ม ใน 6 เล่มแรกเป็นผลงานเกี่ยวกับเรขาคณิต เล่ม 7, 8 และ 9 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎี ตัวเลข เล่ม 10 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีที่ว่าด้วยจำนวนอตักยะ เล่ม 11, 12 และ 13 เกี่ยวข้องกับเรื่องราว รูปเรขาคณิตทรงตันและปิดท้ายด้วยการกล่าวถึง รูปทรงหลายเหลี่ยม และข้อพิสูจน์เกี่ยวกับรูปทรงหลายเหลี่ยม

ยูคลิดเป็นนักคณิตศาสตร์

672663fcmohh86is[1]


         ผลงานของยูคลิดเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมาก และกล่าวกันว่าผลงาน The Elements เป็นผลงานที่ต่อเนื่องและดำเนินมาก่อนแล้วในเรื่องผลงาน ของนักคณิตศาสตร์ยุคก่อน เช่น ทาลีส (Thales), ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) และพีธากอรัส อย่างไรก็ตามหลายผลงานที่มีในหนังสือนี้เป็นที่เชื่อกันว่า เป็นบทพิสูจน์และผลงานของยูคลิดเอง ผลงานของยูคลิดที่ได้รับการนำมาจัดทำใหม่ และตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1482 หลังจากนั้นมีผู้นำมาตีพิมพ์อีก มากมายนับจำนวนครั้งไม่ถ้วน

ยูคลิดนักคณิตศาสตร์ที่สำคัญ

677092ykivovsu3o[1]

     หลักการหา ห.ร.ม.ที่ง่ายที่สุดและรู้จักกันดีจนถึงปัจจุบันคือ ให้นำตัวเลขจำนวนน้อยหารตัวเลขจำนวนมาก เศษที่เหลือมาเทียบกับเลขจำนวนน้อย จับหารกันไปเรื่อย ๆ ทำเช่นนี้จนลงตัว ได้ ห.ร.ม. เป็นเลขที่ลงตัวตัวสุดท้าย
     ดังตัวอย่าง การหา ห.ร.ม. ของ 330 กับ 140
     a = bq1 + r2 ,    0  <  r2  <  b ;     330 = 140 . 2 + 50; 
     b = r2q2 + r3 ,    0  <  r3  <  r2 ;     180 = 50 . 2 + 40;  
    r2 = r3q3 + r4 ,    0  <  r4  <  r3 ;     50 = 40 . 1 + 10; 
     ..........    ..........     40 = 10 . 4  
  rn-2 = rn-1qn-1 + rn ,    0  <  rn  <  rn-1 ; 
  rn-1 = rnqn 
     ห.ร.ม. ของ (330, 140) คือ 10

ยูคลิดนักคณิตศาสตร์ที่โซเฟียชอบ

153625nqc2f58k5n[1]


        ผลงานของยูคลิดยังมีอีกมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเลข ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ เรื่องของแสง ทางเดินของจุดบนเส้นโค้งและผิวโค้ง รูปกรวย และยังมีหลักการทางดนตรี อย่างไรก็ตาม หลักสูตรหลายอย่างได้สูญหายไป

ยูคลิดEuclid

1229744275[1]

     นี่ก็เป็นหนึ่งในคนเก่งที่ โซเฟียประทับใจ เพราะเคยเจอในหนังสือพ่อมดคณิตศาสตร์ เป็นนักคณิตศาสตร์ ทึ่น่ายกย่องอีกท่านหนึ่ง

 

ยูคลิดEuclid โซเฟีย

Bye…Bye..

13[1]