เรอเน เดล์การ์ตส์ (Rene Descartes)

 เรอเน เดล์การ์ตส์ (Rene Descartes)

     เรอเน เดล์การ์ตส์ (Rene Descartes) เป็ฯนักคณิตศาสตร์ที่  ได้รับการยกย่องว่าค้นคิดเรขาคณิตวิเคราะห์ โดยที่เดล์การ์ตล์  เริ่มต้นด้วยกราฟ แล้วจึงหาสมการของกราฟนั้น 


เรอเน เดล์การ์ตส์  (Rene Descartes)

      เดล์การ์ตล์ เกิด เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1596 ที่ลาฮาย (La Haye) ใกล้เมืองตูรล์ (Tours) ประเทศฝรั่งเศส ในช่วงหลังของยุคศิลปวรรณคดีเจริญเฟื่องฟู ในช่วงนี้มีนักคิดโด่งดัง หลายท่าน เช่น แฟร์มาต์ และปาสคาล เป็นนักคณิตศาสตร์ที่อยู่ร่วมสมัยกับเดล์การ์ตล์ เชคสเปียร์ (Shakespeare) สิ้นชีวิตเมื่อเดล์การ์ตส์อายุได้ 20 ปี เดล์การ์ตล์ สิ้นชีวิตหลังกาลิเลโอ (Galileo) 8 ปี นิวตัน (Newton) อายุ 8 ขวบ เมื่อเดล์การ์ตล์ถึงแก่กรรม มิลตัน (Milton) เกิดเมื่อเดล์การ์ตล์อายุ 12 ปี และ ฮาวี (Harvey) ซึ่งค้นพบระบบหมุนเวียนของเลือดมีอายุอีก 7 ปีหลังจากเดส์การ์ตลืถึงแก่กรรม

เรอเน เดล์การ์ตส์ (Rene  Descartes)


      เดล์การ์ตล์เกิดในตระกูลขุนนางเก่า บิดาของท่านถึงแม้ว่าจะไม่ร่ำรวยมาก แต่ก็มีฐานะดีพอสมควร เรอเนเป็นบุตรคนที่สามและคนสุดท้องของภรรยาคนแรกของบิดาของท่าน มารดาท่านชื่อ เจอน โบรชาร์ด (Jeanne Brochard) ซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากคลอดเรอเนได้เพียงไม่กี่วัน บิดาของเรอเนพยายามทำทุกอย่างเพื่อชดเชยที่เรอเนต้องพรากจากมารดาตั้งแต่เยาว์วัย ท่านได้จ้างนางพยาบาลเพื่อดูแลเรอเนโดยเฉพาะและแม้ว่าท่านแต่งงานใหม่ แต่ก็ได้ดูแลเรอเนเป็นอย่างดี พยายามตอบคำถามของเรอเน ซึ่งต้องการทราบสาเหตุของทุกสิ่งในสากลโลก เนื่องจากเรอเนสุขภาพไม่สมบูรณ์ บิดาของท่านจึงไม่ได้รีบเร่งให้ท่านเรียนหนังสือ รอจนท่านอายุ 8 ปี จึงส่งเข้าโรงเรียน

เรอเน เดล์การ์ตส์ (Rene Descartes) Sophia
       เดล์การ์ตล์เข้าศึกษาในโรงเรียนของคณะสงฆ์เยซิต ที่ลาแฟช (La Flaeche) ซึ่งมีบาทหลวงชาร์เลท์ (Charlet) เป็นอธิการบาทหลวงท่านนี้เข้าใจถึงสุขภาที่ไม่สมบูรณ์ของเดล์การ์ตล์เป็นอย่างดี ได้ให้เวลาเดล์การ์ตล์พักผ่อนนานกว่านักเรียนคนอื่นในตอนเช้า ซึ่งเดล์การ์ตล์ได้ใช้เวลาช่วงนี้คิดค้นวิทยาการต่างๆ ที่สถาบันแห่งนี้ท่านยังได้มีเพื่อนซึ่งสนใจคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เหมือนกับท่านคือ มาแรง แมร์เซอน (Marin Mersenne, ค.ศ. 1581 – 1638) ซึ่งต่อมาเป็นคนกลางในการสื่อสารของเดล์การ์ตล์กับนักปราชญ์ท่านอื่นๆ ในสมัยนั้น แบร์เซอน มีผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีจำนวนเกี่ยวกับจำนวนเฉพาะของแมร์เซอน เดล์การ์ตล์จบการศึกษาที่สถาบันแห่งนี้เมื่ออายุ 17 ปี โดยศึกษาเกี่ยวกับภาษาลาติน ภาษากรีก และวาทศิลป์ แต่สิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุดคือ ปรัชญาซึ่งท่านไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของปรัชญาสมัยนั้น และพยายามที่จะสร้างแนวคิดใหม่ ท่านคิดว่าการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยการให้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์เท่านั้นที่เราจะสามารถศึกษาสิ่งต่างๆ ได้

เรอเน เดล์การ์ตส์ (Rene Descartes)  Sophia


          บางช่วงในชีวิตของเดล์การ์ตล์ท่านเป็นทหาร บางช่วงเป็นอาจารย์ แต่ตลอดเวลาถ้ามีโอกาสท่านจะคิดเกี่ยวกับปริชญาและคณิตศาสตร์ ผลงานที่สำคัญที่สุดของท่านคือ Discous dela mehode pour fien conduire sa raison et checher la verite dans les sciences ซึ่งพิมพ์ในปี ค.ศ. 1637 พร้อมภาคผนวก ผลงานชิ้นนี้โด่งดังมากเพราะเป็นครั้งแรกที่สามารถพิสูจน์อย่างปราศจากข้อสงสัยว่า “มีฉัน” โดยท่านกล่าวว่า “ฉันคิด ดังนั้นจึงมีฉัน” (Cogito ergo sum) นั่นคือ เราอาจจะคิดว่าสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ล้วนเป็นภาพมายา แต่ผู้คิดไม่สามารถปฏิเสธว่ามีตัวผู้คิดนั้น เพราะถ้าผู้คิดสงสัยว่าจะมีผู้คิดหรือไม่ ก็ต้องมีตัวตนผู้ที่สงสัยนั้น ผลงานทางคณิตศาสตร์ของเดล์การ์ตล์ที่ตีพิมพ์มีชิ้นเดียว คือ La geometic ซึ่งเป็นภาคผนวกที่สามของหนังสือที่กล่าวข้างต้น ภาคผนวกนี้บ่งบอกให้เราทราบว่าท่านเป็นบุคคลหนึ่งซึ่งริเริ่มเรขาคณิตวิเคราะห์ ผลงานของท่านเริ่มด้วยกราฟแล้วศึกษาเกี่ยวกับสมการของกราฟภาคผนวกนี้ทำให้ชื่อเสียงของเดล์การ์ตล์โด่งดัง ดังคำกล่าวของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) ต่อไปนี้


เรอเน เดล์การ์ตส์ (Rene Descartes) โซเฟียคนเก่ง

        “เรขาคณิตวิเคราะห์ มากกว่าแนวคิดทางปรัชญาใด ๆ ของท่าน ที่ทำให้ชื่อของเดล์การ์ตล์เป็นอมตะ และเป็นก้าวที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณ”
ในตอนที่ 3 ของภาคผนวกนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎของเครื่องหมายของเดล์การ์ตล์ (Descartes’ Rule of Signs) ซึ่งเกี่ยวกับคำตอบที่เป็นจำนวนจริงของสมการ พหุนามที่มีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนจริง ข้อความในกฎของเครื่องหมายของเดล์การ์ตล์ เราเรียงพจน์ของพหุนามจากกำลังมากไปหาน้อย พจน์ที่มีสัมประสิทธิ์เป็น 0 จะไม่ขียนแลค่าคงตัวไม่เป็นศูนย์ เรากล่าวว่ามีการแปรผันของเครื่องหมาย (Variation of Sign) ใน P(x) เมื่อสัมประสิทธิ์ที่เรียงติดกันมีเครื่องหมายต่างกัน เช่น


กฎของเครื่องหมายของเดล์การ์ตล์

      กำหนด P(x) เป็นพหุนามซึ่งมีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนจริง และค่าคงตัวไม่เท่ากับศูนย์
(1) จำนวนคำตอบที่เป็น จำนวนจริงบวก ของสมการ P(x) = 0 จะเท่ากับจำนวนการแปรผันของเครื่องหมายใน P(x) หรือน้อยกว่าจำนวนนั้นโดยจำนวนคู่
(2) จำนวนคำตอบที่เป็น จำนวนจริงลบ ของสมการ P(x) = 0 จะเท่ากับจำนวนการแปรผันของเครื่องหมายใน P(-x) หรือน้อยกว่านั้นโดยจำนวนคู่


ตัวอย่าง



ดังนั้น คำตอบที่เป็นจำนวนจริงบวกของสมการ P(x) = 0 จะมี 3 คำตอบหรือ 1 คำตอบ

ดังนั้น คำตอบที่เป็นจำนวนจริงลบของสมการ P(x) = 0 จะมี 1 คำตอบ


เรอเน เดล์การ์ตส์ (Rene Descartes) โซเฟียคนเก่ง

 

        ในปี ค.ศ. 1649 เดล์การ์ตล์เป็นพระอาจารย์ราชินีคริสตีน (Christine) แห่งสวีเดน เนื่องจากกรุงสตอกโฮล์มอากาศหนาวเย็น และราชินีซึ่งพระชนมายุ 19 ชันษา ทรงนิยามทรงพระอักษรตั้งแต่ตีห้า เดล์การ์ตล์ซึ่งสุขภาพไม่สมบูรณ์ทนกับอากาศหนาวเหน็บในหอสมุดซึ่งปราศจากเครื่องทำความร้อนไม่ไหวเป็นโรคปอดอักเสบ และเสียชีวิตในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1650 มีอายุ 54 ปี อีก 17 ปี ต่อมากระดูกของเดล์การ์ตล์ถูกส่งไปที่ประเทศฝรั่งเศสบ้านเกิดของท่าน และฝังที่ปาเทออง (Patheon) ที่กรุงปรารีต

“ข้าพเจ้าปรารถนาเพียงความสงบและการพักผ่อน”
เรอเน เดล์การ์ตล์

เรอเน เดล์การ์ตส์ (Rene Descartes) โดยโซเฟียคนเก่ง

0 ความคิดเห็น: